ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม อย่างเกิดประโยชน์

“พิธีบำเพ็ญกุศล พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม” คืออะไร

การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ถือเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีที่พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนใช้เป็น พิธีบำเพ็ญกุศลที่เกี่ยวเนื่องกับศพหรือผู้ตาย ซึ่งเจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ไปสวดยังสถานที่ตั้งศพผู้ตาย โดยมากจะเป็น เวลาช่วงเย็นหรือค่ำๆ และสวดเมื่อเวลาจุดไฟเผาศพที่อยู่บนจิตกาธาน (การสวดหน้าไฟ)
พระสงฆ์ที่นิมนต์สวดถ้าเป็นศพของผู้ตายที่เป็นสามัญชน ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ทั่วไป จำนวน 4 รูป มาสวด แต่ถ้าเป็นศพของบุคคล หรือข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพระศพเจ้านาย สำนักพระราชวังจะมีหมายรับสั่ง ให้กรมการศาสนาวางฎีกานิมนต์ “พระพิธีธรรม” ซึ่งมีอยู่ 10 สำรับๆ ละ 4 รูป ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสพระอารามหลวง 10 พระอาราม คือ 1. วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม 2. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 3. วัดสุทัศนเทพวราราม 4. วัดบวรนิเวศวิหาร 5. วัดสระเกศ 6. วัดราชสิทธาราม 7. วัดระฆังโฆสิตาราม 8. วัดจักรวรรดิราชาวาส 9. วัดประยุรวงศาวาส 10. วัดอนงคาราม

“จุดมุ่งหมายของการสวดพระอภิธรรม” คืออะไร

  • เป็นการนำเอาพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎก มาสวด เพราะคำสอนในพระอภิธรรมนั้น ล้วนเป็นคำสอนเพื่อให้คนที่มีชีวิตอยู่ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท
  • เป็นการบำเพ็ญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต เพราะเป็นการทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของลูกหลานและญาติมิตร
  • เป็นการสร้างความอบอุ่นใจ และบรรเทาความเศร้าโศกของญาติพี่น้อง
  • เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและจารีตประเพณีอีกส่วนหนึ่ง

“ความหมายของบทสวดพระอภิธรรม” กล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง

พระอภิธรรม ว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม มี 4 ประการ อันได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวธรรม ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก. นาย ข. นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะ(หมวดที่ 3 ในพระไตรปิฏก) ที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันพระสงฆ์ใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวดเนื่องในการสวดอภิธรรมศพ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้ว ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ธาตุ 4) กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิต เจตสิก (ขันธ์ 5 : เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณ ย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้ ดังนั้น การสวดพระอภิธรรมในงานศพ ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิต ตามธรรมชาติหรือธรรมดาดังกล่าวนั้น

พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน รวมเป็นคัมภีร์ได้ 7 คัมภีร์, รวมเป็นหัวข้อธรรมได้ 42,000 หัวข้อ, รวมเป็นปรมัตถธรรมได้ 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน…. พระพุทธเจ้าไปแสดงพระอภิธรรมให้มารดาฟัง จึงกลายเป็นที่มาของการสวดพระอภิธรรมในงานศพจนถึงปัจจุบัน

ทำนองการสวดที่แตกต่างกัน

ในพิธีสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรม พระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มานั้น จะใช้ทำนองการสวดที่แตกต่างกัน คือ

  1. ทำนองสังโยค เป็นการสวดเหมือนกับการสะกดตัว หนังสือประกอบคำอ่าน โดยสวดเป็นประโยค เช่นเดียวกับที่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งพระสงฆ์จะใช้สวดในงานศพของ ประชาชนทั่วไป
  2. ทำนองหลวง เป็นทำนองสวดที่มีระดับเสียงสูงต่ำ เบาหนัก สั้นยาว ที่มีลักษณะเป็นทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นทำนองมาตรฐาน ของการสวดพระอภิธรรมของพระพิธีธรรม ซึ่งทำนองหลวงนี้จะแบ่งย่อย เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของบทสวดและวัด ซึ่งพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์(สมาน กลฺยาณธมฺโม) วัดราชสิทธาราม ได้อธิบายไว้ในหนังสือพระพิธีธรรม การสวดทำนองหลวง ดังนี้
    2.1 ทำนองกะ คือ ทำนองสวดที่มีลักษณะว่าลงตัว ชัดเจน และเอื้อนเสียงมีจังหวะหยุดเป็นวรรค ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ กะเปิด มีการสวดเน้นการออกเสียงคำสวดชัดเจน และกะปิด เป็นการสวดเอื้อน เสียงยาวต่อเนื่องกันตลอดทั้งบท
    2.2 ทำนองเลื่อน คือ การสวดที่มีการเอื้อนเสียงสวดยาว ต่อเนื่องกันตลอดทั้งบท ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด ซึ่งบางครั้งก็เรียก กะเลื่อน หรือ กะเคลื่อน
    2.3 ทำนองลากซุง คือ การสวดที่มีการออกเสียงหนักลง ที่ทรวงอกทุกตัวอักษร โดยการลากเสียงเอื้อนจากหนักไปหาเบาว่าอย่าง นี้ตลอดทั้งบท เหมือนอย่างการลากซุงหรือลากสิ่งของที่หนัก จะมีเสียง เคลื่อนแรงในช่วงแรกและเมื่อใกล้จะหมดกำลังก็จะเบาลง
    2.4 ทำนองสรภัญญะ คือ ทำนองแบบการสวดสังโยค สวดเป็นรูปประโยค และหยุดตามรูปประโยคของฉันทลักษณ์ ซึ่งจะมีการใช้เสียงเอื้อนบ้างเล็กน้อยไม่ให้เสียอักขระวิธี

พระอภิธรรมที่ใช้สวดในงานศพประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ เรียกว่า พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ที่ใช้สวดในงานศพ เป็นการแสดงแต่หัวใจธรรมโดยย่อประกอบด้วย

  • กุสะลา ธัมมา

    – พระธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวะจะระกุศลเป็นต้น

  • อะกุสะลา ธัมมา – ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น
  • อัพ๎ยากะตา ธัมมา – ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลางๆ มีอยู่ มีผัสสะเจตนาเป็นต้น
  • กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎ะมิง สะมะเย – ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
  • กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง – จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖
  • อุปปันนัง โหติ – ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน
  • โสมะนัสสะสะหะคะตัง – เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ
  • ญาณะสัมปะยุตตัง – ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้คือปัญญา
  • รูปารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • สัททารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • คันธารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพระพุทธบูชาเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • ระสารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • โผฏฐัพพารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในของอันถูกต้อง แล้วก็คิดให้ทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • ธัมมารัมมะนัง วา – มีจิตยินดีในที่จะเจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
  • ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ – อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใดๆ
  • ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ – ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศลก็ย่อมบังเกิดขึ้น ในสมัยนั้น
  • อะวิกเขโป โหติ – อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดาน ก็ย่อมบังเกิดขึ้น
  • เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย – อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น
  • อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา – ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกัน ก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม
  • อะรูปิโน ธัมมา – เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป
  • อิเม ธัมมา กุสะลาฯ – ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล ฯ

  • ปัญจักขันธา – กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ
  • รูปักขันโธ – รูป 28 มีมหาภูตรูป 4 เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
  • เวทะนากขันโธ – ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัส และอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง
  • สัญญากขันโธ – ความจำได้หมายรู้ ในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันบังเกิดขึ้นในจิต เป็นกองอันหนึ่ง
  • สังขารักขันโธ – เจตสิกธรรม 50 ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่างๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้น ที่ให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง
  • วิญญาณักขันโธ – วิญญาณจิต 89 ดวงโดยรอบสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
  • ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ – กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นอย่างไรบ้าง
  • ยังกิญจิ รูปัง – รูปอันใดอันหนึ่ง
  • อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง – รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูที่เป็นอนาคตอันยังไม่มาถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่
  • อัชฌัตตัง วา – เป็นรูปภายในหรือ
  • พะหิทธา วา – หรือว่าเป็นรูปภายนอก
  • โอฬาริกัง วา – เป็นรูปอันหยาบหรือ
  • สุขุมัง วา – หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม
  • หินัง วา – เป็นรูปอันเลวทรามหรือ
  • ปะณีตัง วา – หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง
  • ยัง ทูเร ว– เป็นรูปในที่ไกลหรือ
  • สันติเก วา – หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้
  • ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา – พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเข้ายิ่งแล้ว ซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน
  • อะภิสังขิปิต๎วา – พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว
  • อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธฯ – กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล ฯ

  • สังคะโห

    – พระพุทธองค์สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑

  • อะสังคะโห – พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
  • สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง – พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
  • อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง – พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
  • สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง – พระพุทธองค์สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
  • อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง – พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันไม่ได้สงเคราะห์
  • สัมปะโยโค – เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบพร้อมด้วยกับจิต ๕๕
  • วิปปะโยโค – เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบแตกต่างกันกับจิต
  • สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง – ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกัน เป็นหมวดเดียวกัน
  • วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง – ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกัน เป็นหมวดเดียวกัน
  • อะสังคะหิตัง – พระพุทธองค์ ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่ควรสงเคราะห์ ให้ระคนกัน

  • ฉะปัญญัตติโย

    – ธรรมชาติทั้งหลาย 6 อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

  • ขันธะปัญญัตติ – กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • อายะตะนะปัญญัตติ – บ่อแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • ธาตุปัญญัตติ – ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • สัจจะปัญญัตติ – ของจริงอย่างประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • อินท๎ริยะปัญญัตติ – อินทรีย์ 22 เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • ปุคคะละปัญญัตติ – บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • กิตตาวะตา ปุคคะลานัง – แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ
  • ปุคคะละปัญญัตติ – บุคคลที่เป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
  • สะมะยะวิมุตโต – พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น
  • อะสะมะยะวิมุตโต – พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์เป็นต้น
  • กุปปะธัมโม – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูญไป
  • อะกุปปะธัมโม – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่กำเริบ
  • ปะริหานะธัมโม – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง
  • อะปะริหานะธัมโม – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย
  • เจตะนาภัพโพ – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่รักษาไว้ในสันดาน
  • อะนุรักขะนาภัพโพ – ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ตามรักษาไว้ในสันดาน
  • ปุถุชชะโน – บุคคลที่มีอาสะวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน
  • โคต๎ระภู – บุคคลผู้เจริญในพระกรรมฐาน ตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู
  • ภะยูปะระโต – บุคคลผู้เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า
  • อะภะยูปะระโต – พระขีณาสะวะ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว
  • ภัพพาคะมะโน – บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น
  • อะภัพพาคะมะโน – บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้มรรคผลในชาตินั้น
  • นิยะโต – บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริยกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น ตายแล้วไปตกนรกเป็นแน่
  • อะนิยะโต – บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม
  • ปะฏิปันนะโก – บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค
  • ผะเลฏฐิโต – บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ตามลำดับ
  • อะระหา – บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส
  • อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน – บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตตผล เป็นผู้สมควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้ว จากกิเลส

  • ปุคคะโล

    -มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุคคลว่าหญิงว่าชาย

  • อุปะลัพภะติ-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด
  • สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ
  • อามันตา-มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่
  • โย-มีคำถวามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้น ทั้งหลายเหล่าใด
  • สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ-เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
  • ตะโต โส-โดยปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้นเหล่านั้น
  • ปุคคะโล-ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
  • อุปะลัพภะติ-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
  • สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ
  • นะ เหวัง วัตตัพเพ-มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์ขันธ์ 5 เป็นต้น เราไม่มี พึงกล่าวเชียวหนอ
  • อาชานาหิ นิคคะหัง-ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวผิด
  • หัญจิ ปุคคะโล-ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
  • อุปะลัพภะติ-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
  • สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
  • เตนะ-โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น
  • วะตะ เร-ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าอันเจริญ
  • วัตตัพเพ โย-ปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้น อันเราพึงกล่าว
  • สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ-เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม
  • ตะโต โส-โดยปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้นเหล่านั้น
  • ปุคคะโล-ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
  • อุปะลัพภะติ-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
  • สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้
  • มิจฉา-ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน

  • เย เกจิ-จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
  • กุสะลา ธัมมา-ธรรมที่เป็นกุสลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • สัพเพ เต-จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
  • กุสะละมูลา-เป็นมูลเป็นที่ตั้งรากเง่าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • เย วา ปะนะ-อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
  • กุสะละมูลา-เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเง่าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • สัพเพ เต ธัมมา-ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
  • กุสะลา-ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • เย เกจิ-จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
  • กุสะลา ธัมมา-เป็นธรรมเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • สัพเพ เต-จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
  • กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา-เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • เย วา ปะนะ-อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
  • กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา-เป็นมูลอันหนึ่งด้วย เป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
  • สัพเพ เต ธัมมา-ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง
  • กุสะลา-ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

  • เหตุปัจจะโย-ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข
  • อารัมมะณะปัจจะโย-อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อะธิปะติปัจจะโย-ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อะนันตะระปัจจะโย-จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง 6 เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • สะมะนันตะระปัจจะโย-จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง 6 พร้อมกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • สะหะชาตะปัจจะโย-จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อัญญะมัญญะปัจจะโย-จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • นิสสะยะปัจจะโย-จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อุปะนิสสะยะปัจจะโย-จิตและเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • ปุเรชาตะปัจจะโย-อารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • ปัจฉาชาตะปัจจะโย-จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อาเสวะนะปัจจะโย-ชะวะนะจิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • กัมมะปัจจะโย-บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด ในที่ดีหรือที่ชั่ว
  • วิปากะปัจจะโย-และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด ในที่ดีที่ชั่ว
  • อาหาระปัจจะโย-อาหาร 4 มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อินท๎ริยะปัจจะโย-ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • ฌานะปัจจะโย-ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม
  • มัคคะปัจจะโย-อัฏฐังคิกะมรรคทั้ง 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด ในโลกอุดร
  • สัมปะยุตตะปัจจะโย-จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • วิปปะยุตตะปัจจะโย-รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • อัตถิปัจจะโย-รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
  • นัตถิปัจจะโย-จิตและเจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
  • วิคะตะปัจจะโย-จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด จิตและเจตสิกในปัจจุบัน
  • อะวิคะตะปัจจะโย-จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิดจิต และเจตสิกในปัจจุบัน

บทสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ (แปล) อ้างอิงตาม พระพิธีธรรม กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ.2554

บทสวดที่พระพิธีธรรมใช้สวดในการพิธีต่างๆ นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ บทสวดในการพิธีมงคล คือ การสวดจตุรเวท ได้แก่ การสวดพระปริตร 7 ตำนาน กับบทสวดในการพิธีอวมงคล คือ การสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ การสวดพระธรรมใหม่ การสวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ และการสวดคาถาธรรมบรรยายแปลจะแสดงเนื้อหาของบทสวดต่าง ๆ พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล

อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล
อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
กตเม ธมฺมา กุสลา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลเป็นไฉน
ยสฺมิง สมเย ในสมัยใด
กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ กุศลจิตที่เป็นกามาวจร
อุปฺปนฺนํ โหติ เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเจตสิก
โสมนสฺสสหคตํ ประกอบพร้อมด้วยปัญญาเจตสิก
ญาณสมฺปยุตฺตํ ปรารภอารมณ์ คือ
รูปารมฺมณํ วา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สทฺทารมฺมณํ วา สิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่

คนฺธารมฺมณํ วา ก็หรือว่า เรื่องราวใด ๆ ย่อมเกิดขึ้น

รสารมฺมณํ วา

โผฏฺ พฺพารมฺมณํ วา

ยํ ยํ วา ปนารพฺภ

ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ ย่อมมีความกระทบกันและกัน

อวิกฺเขโป โหติ ย่อมมีความไม่ฟุ้งซ่าน

เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ย่อมมีสภาวะที่ไม่มีรูปร่าง
อญฺเ ปิ อตฺถิ ปฏิจฺจ (จิตและเจตสิก) ซึ่งอาศัยกันและกัน

สมุปฺปนฺนา เกิดขึ้นพร้อมกัน

อรูปิโน ธมฺมา แม้เหล่าอื่น เหล่าใด

อิเม ธมฺมา กุสลา สภาวะทั้งหลายเหล่านี้ คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล

ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ 5 คือ

รูปกฺขนฺโธ รูปขันธ์ (หมวดแห่งรูป 28)
เวทนากฺขนฺโธ เวทนาขันธ์
สญฺากฺขนฺโธ สัญญาขันธ์
สงฺขารกฺขนฺโธ สังขารขันธ์
วิญฺาณกฺขนฺโธ วิญญาณขันธ์
ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ บรรดาขันธ์ 5 นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน
ยงฺกิญฺจิ รูปํ รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา รูปภายใน หรือรูปภายนอก

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา รูปหยาบ หรือรูปละเอียด

หีนํ วา ปณีตํ วา รูปเลว หรือรูปประณีต

ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา รูปไกล หรือรูปใกล้ อย่างใด

ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา รูปนั้นทรงประมวลย่นย่อเข้ารวมกัน

อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ นี้ ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ฯ

สงฺคโห อสงฺคโห ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้
สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้
อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้
อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้

สมฺปโยโค วิปฺปโยโค ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้ ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมะอื่น
สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่น กับธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้

วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้

อสงฺคหิตํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากับธรรมอื่นไม่ได้ กับธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่น

ฉ ปญฺ ตฺติโย บัญญัติ มี 6 ประการ
ขนฺธปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า ขันธ์
อายตนปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า อายตนะ
ธาตุปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า ธาตุ
สจฺจปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า สัจจะ
อินฺทฺริยปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า อินทรีย์
ปุคฺคลปญฺ ตฺติ บัญญัติว่า บุคคล
กิตฺตาวตา ปุคฺคลานํ บุคคลบัญญัติแห่งบุคคลทั้งหลาย
ปุคฺคลปญฺ ตฺติ มีเท่าไร
สมยวิมุตฺโต ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยบำเพ็ญวิโมกข์ 8 มาก่อน
อสมยวิมุตฺโต ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยไม่บำเพ็ญวิโมกข์ 8

กุปฺปธมฺโม ท่านผู้มีสมาบัติยังกำเริบ เป็นธรรมดา (ปุถุชน)

อกุปฺปธมฺโม ท่านผู้มีสมาบัติไม่กำเริบ เป็นธรรมดา (อริยบุคคล)

ปริหานธมฺโม ท่านผู้ยังเสื่อมจากสมาบัติ เป็นธรรมดา

อปริหานธมฺโม ท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมาบัติเป็นธรรมดา

เจตนาภพฺโพ ท่านผู้ยังต้องใส่ใจถึงสมาบัติเนือง ๆ

อนุรกฺขนาภพฺโพ ท่านผู้ยังต้องรักษาสมาบัติเนือง ๆ

ปุถุชฺชโน ท่านผู้ยังละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสไม่ได้

โคตฺรภู ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมะ ระหว่างชั้นบุคคล

ภยูปรโต ท่านผู้ยังยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย

อภยูปรโต ท่านผู้ไม่ยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย

ภพฺพาคมโน ท่านผู้สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม

อภพฺพาคมโน ท่านผู้ไม่สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม

นิยโต ท่านผู้มีคติแน่นอน (คนทำอนันตริยกรรม 5 พวก นิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระอริยบุคคล 8)

อนิยโต ท่านผู้มีคติยังไม่แน่นอน

ปฏิปนฺนโก ท่านกำลังปฏิบัติมรรค 4

ผเลฏฺฐิโต ท่านผู้ดำรงอยู่แล้วในผล 4

อรหา ท่านผู้เป็นพระอรหันต์

อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ฯ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ ท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้

โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง

สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรืออามนฺตา ถูกแล้ว
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้งมีอรรถะที่ยอดเยี่ยม
ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้งและอรรถะที่ยอดเยี่ยม
น เหวํ วตฺตพฺเพ ท่านไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
อาชานาหิ นิคฺคหํ ท่านจงรับรู้ถึงการถูกตำหนิ
หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ หากท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน และอรรถะที่ยอดเยี่ยมไซร้

เตน วต เร วตฺตพฺเพ ด้วยเหตุนั้น หนอแล ท่านจะต้องกล่าวว่า

โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้ง มีอรรถะที่ยอดเยี่ยม
ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้ บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง
สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรือ
มิจฺฉา ข้อนั้น ผิดฯ

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล

เหล่าใด เหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูลา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล
เย วา ปน กุสลมูลา ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลธรรม
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูลา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล
เย วา ปน กุสลมูลา ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลาย เหล่าใดมีกุศลเป็นมูล

สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดเป็นกุศลธรรม

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง

เหตุปจฺจโย ธรรมที่เป็นเหตุทำให้เกิด และช่วยสนับสนุน
อารมฺมณปจฺจโย ธรรมที่เป็นอารมณ์ และช่วยสนับสนุน
อธิปติปจฺจโย ธรรมที่เป็นใหญ่ และช่วยสนับสนุน
อนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกัน และช่วยสนับสนุน
สมนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกันระหว่างมิได้ และช่วยสนับสนุน
สหชาตปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน และช่วยสนับสนุน
อญฺ มญฺ ปจฺจโย ธรรมที่ช่วยสนับสนุนแก่กันและกัน
นิสฺสยปจฺจโย ธรรมที่อาศัยกันและกัน และช่วยสนับสนุน

อุปนิสฺสยปจฺจโย ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันได้แน่นอน และช่วยสนับสนุน

ปุเรชาตปจฺจโย ธรรมที่เกิดก่อน และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดภายหลัง

ปจฺฉาชาตปจฺจโย ธรรมที่เกิดภายหลัง และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดก่อน
อาเสวนปจฺจโย ความเคยชินเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

กมฺมปจฺจโย การตั้งใจกระทำเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

วิปากปจฺจโย ผลแห่งกุศลกรรมและผลแห่งอกุศลกรรม เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

อาหารปจฺจโย อาหาร 4 เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

อินฺทฺริยปจฺจโย อินทรียธรรม 22 เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

ฌานปจฺจโย การเพ่งอารมณ์เป็นเครื่องสนับสนุน

มคฺคปจฺจโย ธรรมที่เป็นดุจทางนำไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน และเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน

สมฺปยุตฺตปจฺจโย ธรรมที่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ 4 และช่วยสนับสนุน

วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ธรรมที่ไม่ประกอบกันด้วยลักษณะ 4 และช่วยสนับสนุน

อตฺถิปจฺจโย ธรรมที่มีอยู่ ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุน

นตฺถิปจฺจโย ธรรมที่ไม่มีอยู่ ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน

วิคตปจฺจโย ธรรมที่ปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน

อวิคตปจฺจโย ธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุนฯ

ฟิวเนอรัล แพลน ได้รับความไว้วางใจ และเป็นผู้ให้บริการ

 

รับจัดงานศพ “อันดับ 1”

ตั้งแต่ พ.ศ.2562 – ปัจจุบัน*

* จัดอันดับโดย google.com

ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

เหตุผลที่หลายครอบครัววางใจให้ ฟิวเนอรัล แพลน ช่วยจัดงานศพ

  • มีสมาชิกในครอบครัวไม่มาก ไม่มีญาติพี่น้องช่วยดำเนินการ

  • ต้องการคนคอยช่วยงาน ต้องการเพื่อน และคนให้กำลังใจ
  • ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้
  • ไม่ทราบรายละเอียดขั้นตอนในการจัดงานศพ ตั้งแต่ต้นจนจบพิธี
  • เป็นสถานการณ์ที่รีบด่วน กระทันหัน จึงไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร
  • เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้สภาพจิตใจ ไม่พร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ
  • ต้องการออกแบบรูปแบบงานให้เป็นไปตามความต้องการ
  • ต้องการให้ช่วยเรื่องกฎหมาย เช่น พินัยกรรม และภาษีมรดก
  • ต้องการความสะดวก เนื่องจากเราช่วยจัดเตรียมทุกสิ่งให้ ตั้งแต่การเคลื่อนย้าย ดอกไม้ประดับหีบ ของชำร่วยงานฌาปนกิจ จนกระทั่งพิธีเก็บอัฐิและลอยอังคาร

มาตฐานการให้บริการ

การให้บริการด้านงานศพที่ต่างประเทศนั้น จะแยกรายละเอียดปลีกย่อย ตามบริการที่ให้แก่ลูกค้าเป็นส่วนๆ ขึ้นกับผู้ให้บริการ และขั้นตอนในการดำเนินพิธีการ เช่น funeral homes, mortuaries, funeral organizers, funeral director แต่สำหรับเราที่ดำเนินงานในประเทศไทย ฟิวเนอรัล แพลน (Funeral Plans) คือ ผู้ให้บริการรับจัดงานศพ ที่พร้อมให้คำแนะนำ ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยจัดการให้พิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบร้อย ครบถ้วน และ ถูกต้องตามหลักพิธีทางศาสนา บนพื้นฐานของความเหมาะสม และช่วยให้กำลังใจ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ นอกจากนี้ เรายังให้บริการครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษา และช่วยวางแผนทางการเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนเสียชีวิต รวมถึง เรื่องกฎหมาย การจัดการมรดก การเงิน การจัดหาสุสาน ฮวงซุ้ย ที่ฝังศพ หรือที่บรรจุอัฐิ แก่วงศ์ตระกูลพร้อมให้บริการ

ในต่างประเทศการเป็นผู้ให้บริการซึ่งอยู่ลักษณะของรูปแบบธุรกิจ จะต้องได้รับใบอนุญาต ต้องผ่านการฝึกงาน และผ่านการสอบจะคณะกรรมการของรัฐ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบของ Federal Trade Commission (FTC) เพื่อช่วยคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเอาเปรียบ และมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน (American, for Great Britain are National Association of Funeral Directores (NAFD), The National Society of Allied and Independent Funeral Directors (SAIF)

ฟิวเนอรัล แพลน
มีสาขาไหม?

เนื่องจากมีผู้ให้บริการอื่นเจตนาคัดลอก ข้อความ เนื้อหาบนเวปไซต์ไปใช้ และทำการดัดแปลงแก้ไขรูปภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด เพื่อสร้างโอกาสขายสินค้า หรือ บริการให้กับตนเอง

ทางเราเป็นผู้ให้บริการที่ได้จดเครื่องหมายการค้า และจดทะเบียนนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และดำเนินงานด้วยจรรยาบรรณ จึงขอเรียนชี้แจ้งให้ผู้รับบริการทราบไว้ ณ โอากาสนี้ว่า ฟิวเนอรัล แพลน ไม่มีสาขา และสามารถติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน ได้ทางช่องทางดังนี้เท่านั้น

ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

ฟิวเนอรัล แพลน (Funeral Plans)

“ครบถ้วนพิธีกรรม ในงบประมาณที่ตั้งใจ”

ฟิวเนอรัล แพลน คือ บริษัทฯ ออแกไนซ์ รับจัดงานศพ ซึ่งให้บริการด้านกฎหมาย ช่วยจัดการพินัยกรรม ภาษีมรดก และจัดพิธีศพ โดยดูแลตั้งแต่การเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต การสวดอภิธรรม งานฌาปนกิจ และพิธีลอยอังคาร

ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

บริการด้านกฏหมาย
จัดการเรื่องพินัยกรรม และภาษีมรดก

แพคเกจรับจัดงานศพ
ควบคุมงบประมาณที่ใช้ในการจัดงานศพตั้งแต่ต้นจนจบพิธี

ของที่ระลึกงานฌาปนกิจ
เตรียมของชำร่วยที่สะท้อนได้ถึงคุณค่าทางจิตใจของเจ้าภาพ

พิธีลอยอังคาร
บริการเรือเช่าเหมาลำ เพื่อทำพิธีลอยอังคาร