สวดพระอภิธรรม

ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีการสวดพระอภิธรรม เมื่อถึงกำหนดเวลาตามประเพณนิยมหรือตามที่วัดกำหนด ให้พึงปฏิบัติดังนี้

  • นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ ถวายน้ำปานะ (น้ำร้อน/น้ำเย็น)
  • เชิญเจ้าภาพหรือประธานหรือผู้แทนในพิธีสวดพระอภิธรรมประจำคืน โดยจุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูป เทียนบูชาพระธรรม และจุดเครื่องทองน้อยหน้าศพ ตามลำดับ
  • ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล ทุกคนรับศีล
  • พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
  • พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมจบ ครบ 4 จบ ศาสนพิธีกรนำตู้พระธรรมและเครื่องสักการะ ถอยออกมาทางท้ายอาสน์สงฆ์
  • นำเครื่องไทยธรรม เข้าไปตั้ง ณ เบื้องหน้าพระสงฆ์
  • เชิญเจ้าภาพ หรือประธาน หรือผู้แทน ถวายเครื่องไทยธรรม
  • เมื่อพระสงฆ์รับเครื่องไทยธรรมแล้ว ให้นำเครื่องไทยธรรมออกมาไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เพื่อจะได้ถวายพระสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธี
  • ศาสนพิธีกรลาดภูษาโยง (เป็นหน้าที่ของศาสนพิธีกร)
  • เชิญผ้าไตร หรือผ้าสบง ให้เจ้าภาพหรือประธานทอดบนภูษาโยง ในลักษณะขวางภูษาโยง
  • พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
  • พระสงฆ์อนุโมทนา
  • เจ้าภาพ หรือประธาน กรวดน้ำ – รับพร
  • เสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมประจำคืน

ขอให้บุญจงถึงแก่ท่านทั้งหลาย

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว สมิตทันต์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว ศรีชัยกุล, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว จุฑามาศกุล, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว ทวีกิจการ, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว ฤทธิ์เดช, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว เตชไกรชนะ, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว พุทธยศ, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว อภิชิตกุลวัฒน์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว เป้าประยูร, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว ไพศาลพานิชย์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว สุนทรกิจ, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว ทรัพย์สมานวงศ์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว อนันต์นนท์ศักดิ์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว พวงทอง, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว รังษีธรรม, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว สันติวิมลรัตน์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว พงษ์ไพบูลย์, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว เกิดผล, .

ขอบพระคุณที่ได้วางใจให้เราจัดการพิธีศพ และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญตามโอกาสต่างๆ

ครอบครัว แดงทิพย์, .

ฟิวเนอรัล แพลน ได้รับความไว้วางใจ และเป็นผู้ให้บริการ

รับจัดงานศพ “อันดับ 1”

ตั้งแต่ พ.ศ.2562 – ปัจจุบัน*

* จัดอันดับโดย google.com

ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

เหตุผลที่หลายครอบครัววางใจให้ ฟิวเนอรัล แพลน ช่วยจัดงานศพ

  • มีสมาชิกในครอบครัวไม่มาก ไม่มีญาติพี่น้องช่วยดำเนินการ

  • ต้องการคนคอยช่วยงาน ต้องการเพื่อน และคนให้กำลังใจ
  • ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้
  • ไม่ทราบรายละเอียดขั้นตอนในการจัดงานศพ ตั้งแต่ต้นจนจบพิธี
  • เป็นสถานการณ์ที่รีบด่วน กระทันหัน จึงไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร
  • เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้สภาพจิตใจ ไม่พร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ
  • ต้องการออกแบบรูปแบบงานให้เป็นไปตามความต้องการ
  • ต้องการให้ช่วยเรื่องกฎหมาย เช่น พินัยกรรม และภาษีมรดก
  • ต้องการความสะดวก เนื่องจากเราช่วยจัดเตรียมทุกสิ่งให้ ตั้งแต่การเคลื่อนย้าย ดอกไม้ประดับหีบ ของชำร่วยงานฌาปนกิจ จนกระทั่งพิธีเก็บอัฐิและลอยอังคาร

    ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม

    ทางฟิวเนอรัลแพลน ขอนำตัวอย่าง สคริปต์พิธีกรในพิธีสวดพระอภิธรรม และคำอารธนาสวดพระอภิธรรม มาแบ่งปันกัน เพื่อเจ้าภาพ หรือ ผู้ดำเนินพิธีการจะได้สามารถดำเนินการได้ด้วยความเรียบร้อย

    ขอนมัสการพระคุณเจ้าด้วยความเคารพ เรียนท่านประธานในพิธี และแขกผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน บัดนี้ถึงกำหนดการบำเพ็ญกุศล สวดพระอภิธรรมศพ “คุณ………………” สำหรับในคืนนี้เป็นคืนที่ “…” ของการสวดพระอภิธรรม และลำดับถัดไปขออนุญาติเรียนเชิญ “คุณ ………………………” ประธานในพิธี ได้ให้เกียรติจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนไตร จุดธูปบูชาธรรม ที่ตู้พระธรรม และจุดธูปที่เครื่องทองน้อย ขออนุญาติเรียนเชิญครับ (หลังจากประธานดำเนินการ ก็เริ่มกล่าวคำอาราธนา)

    1. คำสักการะพระรัตนตรัย

    • อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
    • อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
    • อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

    2. คำบูชาพระรัตนตรัย

    • อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา , พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
    • สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม , ธัมมัง นะมัสสามิ
    • สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สังฆัง นะมามิ

    3. คำอาราธนาศีล 5

    • มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ , ติสะระเณนะ สหะ, ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
    • ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สหะ, ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
    • ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สหะ, ปัญจสีลานิ ยาจามะ

    4. บทไตรสรณคมน์

    • พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    • ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    • ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

      5. คำสมาทานศีล 5

      • ปาณาติปาตา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      • อะทินนาทานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      • กาเมสุ มิจฉาจารา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      • มุสาวาทา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      • สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

        6. คำอาราธนาพระปริตร

        • วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
        • สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง
        • วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
        • สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง
        • วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
        • สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พฺรูถะ มังคลัง

          7. คำอาราธนาธรรม

          • พฺรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
          • กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
          • สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
          • เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

          หลังจากกล่าวอารธนาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะเริ่มสวดอภิธรรมจนจบ และให้เตรียมเครื่องไทยธรรม รวมถึงผ้าที่จะใช้บังสุกุลเตรียมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อพระสงฆ์สวดเสร็จแล้ว ต่อไปเป็นลำดับพิธีในการถวายเครื่องไทยธรรม ดังนี้

          การสวดพระอภิธรรมได้จบลงแล้วนะครับ ลำดับต่อไปเป็นการถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และทอดผ้าบังสุกุล ขออนุญาติเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติ 4 ท่าน ตามลำดับต่อไปนี้ครับ

          • ลำดับที่ 1 …………………………….. ตำแหน่ง…………………………….
          • ลำดับที่ 2 …………………………….. ตำแหน่ง…………………………….
          • ลำดับที่ 3 …………………………….. ตำแหน่ง…………………………….
          • ลำดับที่ 4 …………………………….. ตำแหน่ง…………………………….

          ขออนุญาติเรียนเชิญทั้ง 4 ท่านครับ

          คำถวายสังฆทาน (ประเภทอุทิศผู้ตาย)

          อิมานิ มะยัง ภันเต,มะตะกะภัตตานิ ,สะปะริวารานิ,ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, มะตะกะภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, กาละกะตานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

          (คำแปล) ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

          หลังจากทอดผ้าบังสุกุลเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะทำการสวดบังสุกุล และทำการกรวดน้ำ และให้พร จากนั้นให้กล่าวขอบคุณผู้ร่วมงานดังนี้

          ในการบำเพ็ญกุศล สวดพระอภิธรรมศพ “คุณ………………” คืนนี้เป็นคืนที่ “… ” ของการสวดพระอภิธรรม ได้เสร็จสิ้นพิธีการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในนามของ “ครอบครัว……” อันประกอบด้วย ………. ขอขอบคุณท่านประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลามาร่วมฟังสวดพระอภิธรรมในวันนี้ หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขาดตกบกพร่อง ทางเจ้าภาพขอกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ขอกราบขอบพระคุณครับ

          คำถามที่พบบ่อย

          ฟิวเนอรัล แพลน (Funeral Plans)

          “ครบถ้วนพิธีกรรม ในงบประมาณที่ตั้งใจ”

          ฟิวเนอรัล แพลน คือ บริษัทฯ ออแกไนซ์ รับจัดงานศพ ซึ่งให้บริการด้านกฎหมาย ช่วยจัดการพินัยกรรม ภาษีมรดก และจัดพิธีศพ โดยดูแลตั้งแต่การเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต การสวดอภิธรรม งานฌาปนกิจ และพิธีลอยอังคาร

          ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

          บริการด้านกฏหมาย
          จัดการเรื่องพินัยกรรม และภาษีมรดก

          แพคเกจรับจัดงานศพ
          ควบคุมงบประมาณที่ใช้ในการจัดงานศพตั้งแต่ต้นจนจบพิธี

          ของที่ระลึกงานฌาปนกิจ
          เตรียมของชำร่วยที่สะท้อนได้ถึงคุณค่าทางจิตใจของเจ้าภาพ

          พิธีลอยอังคาร
          บริการเรือเช่าเหมาลำ เพื่อทำพิธีลอยอังคาร

          มาตฐานการให้บริการ

          การให้บริการด้านงานศพที่ต่างประเทศนั้น จะแยกรายละเอียดปลีกย่อย ตามบริการที่ให้แก่ลูกค้าเป็นส่วนๆ ขึ้นกับผู้ให้บริการ และขั้นตอนในการดำเนินพิธีการ เช่น funeral homes, mortuaries, funeral organizers, funeral director แต่สำหรับเราที่ดำเนินงานในประเทศไทย ฟิวเนอรัล แพลน (Funeral Plans) คือ ผู้ให้บริการรับจัดงานศพ ที่พร้อมให้คำแนะนำ ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยจัดการให้พิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบร้อย ครบถ้วน และ ถูกต้องตามหลักพิธีทางศาสนา บนพื้นฐานของความเหมาะสม และช่วยให้กำลังใจ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ นอกจากนี้ เรายังให้บริการครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษา และช่วยวางแผนทางการเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนเสียชีวิต รวมถึง เรื่องกฎหมาย การจัดการมรดก การเงิน การจัดหาสุสาน ฮวงซุ้ย ที่ฝังศพ หรือที่บรรจุอัฐิ แก่วงศ์ตระกูลพร้อมให้บริการ

          ในต่างประเทศการเป็นผู้ให้บริการซึ่งอยู่ลักษณะของรูปแบบธุรกิจ จะต้องได้รับใบอนุญาต ต้องผ่านการฝึกงาน และผ่านการสอบจะคณะกรรมการของรัฐ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบของ Federal Trade Commission (FTC) เพื่อช่วยคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเอาเปรียบ และมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน (American, for Great Britain are National Association of Funeral Directores (NAFD), The National Society of Allied and Independent Funeral Directors (SAIF)

          ฟิวเนอรัล แพลน
          มีสาขาไหม?

          เนื่องจากมีผู้ให้บริการอื่นเจตนาคัดลอก ข้อความ เนื้อหาบนเวปไซต์ไปใช้ และทำการดัดแปลงแก้ไขรูปภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด เพื่อสร้างโอกาสขายสินค้า หรือ บริการให้กับตนเอง

          ทางเราเป็นผู้ให้บริการที่ได้จดเครื่องหมายการค้า และจดทะเบียนนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และดำเนินงานด้วยจรรยาบรรณ จึงขอเรียนชี้แจ้งให้ผู้รับบริการทราบไว้ ณ โอากาสนี้ว่า ฟิวเนอรัล แพลน ไม่มีสาขา และสามารถติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน ได้ทางช่องทางดังนี้เท่านั้น

          ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 06.4289.6394

          ทำไมต้องมีการสวดอภิธรรม

          หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องมีการสวดพระอภิธรรมในงานศพด้วย ทาง ฟิวเนอรัล แพลน จึงขอรวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆมาสรุปไว้ ดังนี้

          1. การสวดพระอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) น่าจะเป็นการตั้งใจที่จะเผยแพร่คำสอน หรือ ความหมายอันเป็นเนื้อหาหลัก ของบทสวดพระอภิธรรมนั้นให้เข้ามาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในพิธีกรรมงานศพ เพราะในการสวดพระอภิธรรม ความหมาย ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) อันว่าด้วยเรื่อง กระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ 5 ซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะ มิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป หรือขยายความให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า บทสวดหรือความหมายอันเป็นเนื้อหาหลักของบทสวด พยายามชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมหรือความจริงของชีวิตที่ว่า จริงๆแล้ว เราคือก้อนเนื้อ กระดูก น้ำเลือด น้ำเหลือง, การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะความตายนั้น ไม่มีใคร สามารถหลีกพ้นไปได้ แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ เองก็ตามที และยังมีคำสอนในพระพุทธศนาที่เราชาวพุทธมักได้ยินบ่อยครั้ง คือพระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า “สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ” แปลว่า ธรรมทานชนะทานทั้งหมด หรือถ้าแปลให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็คือ ผลบุญอันเกิดจากการให้ธรรมะแก่ผู้อื่นนั้น เป็นบุญใหญ่ เป็นบุญที่ส่งผลแรงและมากที่สุดในแง่ของการทำทานในรูปแบบต่างๆนั่นเอง เพราะการให้ทานด้วยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งของ หรือเงิน อาจจะไม่ได้ช่วยให้ผู้รับเป็นคนที่ดีขึ้นเลย อาจเพียงแค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือ ปัญหาบางอย่างในขณะนั้นให้ลุล่วงแล้วจบไป แต่การให้ธรรมเป็นทาน จะช่วยให้ผู้รับทานหรือคำสอนนั้น เป็นคนดีขึ้น มีการปฏิบัติตนที่ดีขึ้น เมื่อได้รับคำสอนและมีความเข้าใจเรื่องบาปบุญมากขึ้น ส่งผลให้เขาเบียดเบียนผู้อื่น น้อยลง ทั้งทางด้าน กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม และคำสอนยังจะช่วย ขัดเกลาและนำพาให้เขาเป็นคนดี สร้างบุญ สร้างกุศลมากขึ้น และเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตน เพื่อให้สามารถหลุดพ้นไปสู่นิพพานได้ในที่สุด ผลอีกด้านของผู้ที่เราให้ธรรมะเป็นทานแก่เขา ก็จะยังก่อเกิดประโยชน์ต่อๆกันไป เมื่อมีผู้รับทานนั้น มีความเข้าใจในธรรมมะนั้นๆแล้ว ก็จะสามารถให้ธรรมะเป็นทานกับคนอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน เป็นการก่อเกิดคนดี ความดีเช่นนี้ต่อๆกันไปไม่รู้จบ จึงถือได้ว่า การให้ธรรมมะเป็นทานอันประเสริฐสูงสุด กว่าทานใดๆ เมื่อเป็นดังนั้น การสวดพระพระอภิธรรมในทุกๆคืนให้ผู้มาร่วมในงานศพได้ฟัง ก็คือการให้ธรรมมะ จึงนับได้ว่าเป็นบุญ เป็นกุศล เป็นทานใหญ่ อย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา และเพื่อให้บุญหรือส่วนกุศลใหญ่นี้ถึงแก่ผู้ล่วงลับ เพื่อให้ไปสู่ภพภูมที่ดียิ่งๆขึ้นไปจากบุญกุศลในครั้งนี้
          2. เป็นที่รู้และสั่งสอนสืบต่อกันมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ปฏิบัติตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของ ท่านโดยเสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้นท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้ถือเป็น เป็นเยี่ยงอย่างที่สมควรจะต้องกฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นอีกสาเหตุของการนำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีศพ และยังถือเป็นการแสดงออกถึงซึ่งความเคารพนับถือ ความรักความอาลัย และความกตัญญู ต่อผู้ล่วงลับ คือการจัดให้มีการแสดงธรรมชั้นสูงในพิธีศพ การสวดพระอภิธรรม จะนิยมสวดตั้งแต่วันแรกเริ่มที่ตั้งศพ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องมีการสวดกันทุกคืนจนกว่าจะถึงวันฌาปนกิจหรือวันเผาศพ คือ 1 วัน 3วัน 5วัน 7วัน หรืออาจสวดถึง 100 วัน ในรายที่ต้องการเก็บศพผู้ล่วงลับไว้ให้ครบ 100 วัน แล้วจึงค่อยทำการ ฌาปนกิจซึ่งก็ค่อนข้างมีให้เห็นบ่อยครั้งในปัจจุบัน
          3. เชื่อกันว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม 4 ประการ (ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมาก เช่นกัน

          สวดอภิธรรม 7 คัมภีร์

          เนื้อหาและความหมายสรุปแห่งคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง 7 ประการ ล้วนแต่แสดงถึงสภาวะธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งมีเนื้อหาที่ลึกซึ้ง มิใช่เป็นวิสัยที่ปุถุชนทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย โบราณจึงอาจมิได้มีความมุ่งหมายในการสวด และรับฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แต่อาจมุ่งหมายเพื่อรักษาพระอภิธรรมปิฎก และมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสมาธิ อันเกิดจากการฟัง ซึ่งเมื่อตั้งใจฟังแล้ว จะก่อให้เกิดความสงบ ความสุข ความเป็นสมาธิจิต เกิดบุญกุศล เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย

          พระอภิธรรม แปลว่า ธรรมอันยิ่ง บทสวดพระอภิธรรมนี้แสดงถึงสภาวะธรรม คือ ความจริงของชีวิต อธิบายธรรมชาติ และสภาวะของชีวิตมนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องกับ สัตว์ บุคคล สถานที่ ฯลฯ มีเนื้อหาสรุปในปรมัตถ์ 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ประกอบด้วย คัมภีร์ 7 คัมภีร์ (บทสวด 7 บท หรือ สวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์) มีสรุปความของแต่ละคัมภีร์ ดังนี้

          1. พระสังคะณี (ประมวลธรรม) ขึ้นต้นด้วยคำว่า “กุสะลา ธมมา” จบด้วย “อิเมธมมมา กุสลา” ซึ่งกล่าวถึง บทสรุปแห่งธรรมะทั้งหมดเป็น 3 ประการ คือ กุศล-ดี อกุศล-ชั่ว และอัพยากฤต-ไม่ดีไม่ชั่ว มีหัวข้อทั้งหมด 164 หัวข้อ (มาติกา)

            กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพ๎ยากะตา ธัมมา ฯ กะตะเม ธัมมา กุสะลา ฯ ยัส๎มิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คันธารัมมะณัง วา ระสา รัมมะณัง วา โผฏฐัพพารัมมะณัง วา ธัมมารัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ ตัส๎มิง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ

          2. วิภังค์ (จำแนกธรรม) บทสวดขึ้นต้นด้วย “ปัญจักขันธา” และจบด้วย “รูปักขันโธ” หมายถึงการยกหลักธรรมขึ้นมาจำแนก แจกแจง อธิบาย กระจายออกไป มีทั้งหมด 18 หัวข้อ เช่น ขันธ์ 5 อันเป็นส่วนประกอบของชีวิต ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นฐานที่เกิดแห่งทุกข์ สุข ของมนุษย์

            ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ฯ ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ ฯ ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ ฯ

          3. ธาตุกถา (กถาว่าด้วยธาตุ) บทสวดขึ้นต้นด้วยคำว่า “สังคโห” และจบด้วย “อสังคหิตัง” เป็นการนำหัวข้อธรรม 125 หัวข้อมาจัดลงในขันต์ 5 อายตนะ 12 เป็นต้น ว่าข้อไหนเข้ากันได้ในข้อใด เช่น ธาตุ 4 ในร่างกาย ที่บางอย่างก็ประกอบเข้ากันได้ บางอย่างก็เข้ากันไม่ได้

            สังคะโห อะสังคะโห ฯ สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง ฯ สัมปะโยโค วิปปะโยโค ฯ สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง ฯ

          4. ปุคคลบัญญัติ (บัญญัติว่าเป็นบุคคล) บทสวดขึ้นต้นด้วย “ฉะ บัญญัตติโย และจบด้วย “อรหัตตายะ ปฏิปันโน” แสดงการบัญญัติความหมาย จำแนกประเภทของบุคคลต่างๆ 6 ประเภทตามคุณธรรม ตามผิวพรรณ ตามอวัยวะรับรู้ ตามธาตุ ตามอริยสัจจ์ 4 ฯลฯ เช่น ผู้ละสังโยชน์ 3 ได้ บัญญัติว่าเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น

            ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัตติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินท๎ริยะปัญญัตติ ปุคคะละ- ปัญญัตติ ฯ กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ ฯ สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคต๎ระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน ฯ

          5. กถาวัตถุ (เรื่องที่ยกมาพูด) บทสวดขึ้นต้นด้วย “บุคคโล อุปลพภติ” และจบด้วย “สัจฉิกรณัต เถนาติ มิจฉา” เป็นการแสดงคำสอนที่ถูกต้องในพุทธศาสนา 219 ข้อ เพื่อแก้ไข และชี้แจงความเห็นของนิกายต่างๆ เช่น เป็นคนดี หรือ ไม่ดี ตัดสินกันอย่างไร เป็นต้น

            ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา ฯ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ นะ เหวัง วัตตัพเพฯอาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ มิจฉา ฯ

          6. ยะมะกะ (เรื่องเป็นคู่ๆ) บทสวดขึ้นต้นด้วย “เย เกจิ กุสลา” จบด้วย “ธมมา กุสลา” เป็นการอธิบายหลักธรรมคำสอนในทางศษสนาให้เห็นความหมาย และขอบเขตอย่างชัดเจน ในเรื่องต่างๆ 10 ประการ โดยวิธีตั้งคำถามเป็นคู่ๆ จำนวน 10 คู่

            เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ

          7. ปัฎฐาน (ความตั้งอยู่ของธรรม) บทสวดขึ้นด้วย “เหตุปัจจโย” และจบด้วย “อวิคตะปัจจโย” เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งต่างๆ เช่น กิเลส อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งดี ไม่ดี ต่างๆ รวมถึงการทำลายล้างการสนับสนุน ฯลฯ มีทั้งหมด 24 ปัจจัย

            เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย อะนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินท๎ริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย ฯ